วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

หมอชีวก โกมารภัจจ์

หมอชีวกโกมารภัจจ์


หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี หญิงนครโสเภณี ในเมืองราชคฤห์ ตำแหน่งหญิงนครโสเภณีนั้นเป็นนามตำแหน่งที่

ทางราชการบ้านเมืองของแต่ละเมืองแต่งตั้งให้ สำหรับคุณสมบัติของสตรีที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นหญิงนครโสเภณีนั้น จะต้องมีรูปร่างสวยงามที่สุดเล่นดนตรีได้ ขับร้องได้ ฉลาดในการรับแขก และต้องได้รับการคัดเลือกจากบรรดาเศรษฐีคหบดีและเจ้านายชั้นสูง

ธรรมเนียมของหญิงนครโสเภณีนั้น เมื่อมีครรภ์จะงดรับแขกจนกว่าจะคลอดลูก และหากคลอดลูกเป็นหญิงจะเลี้ยงไว้เพื่อสืบทายาท หากเป็นชายจะให้คนอื่นเลี้ยงหรือนำไปทิ้งที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั่วไปได้พบเห็นและเก็บเอาไปเลี้ยง

เมื่อนางสาลวดีคลอดบุตรเป็นชาย จึงให้คนนำไปทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยราชกุมาร ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารทราบข่าวจึงเก็บมาเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า ชีวก (ผู้มีชีวิตอยู่) และมีนามต่อท้ายว่า โกมารภัจจ์ (ผู้ที่พระราชกุมารนำไปเลี้ยงไว้)ชีวก

โกมารภัจจ์ได้ศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลาใช้เวลาศึกษาอยู่นานถึง 7 ปี จนสำเร็จวิชาแพทย์ ได้กลับมายังเมืองราชคฤห์ ระหว่างทางที่จะกลับ ได้ทำการรักษาเศรษฐี คหบดี และคนทั่วไป จนคนเหล่านั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านกลับมาถึงเมืองราชคฤห์ ก็ได้นำรางวัลค่าตอบแทนที่ได้รับถวายเจ้าชายอภัย ผู้ทรงเป็นบิดาเลี้ยงซึ่งเจ้าชายก็มอบคืนให้พร้อมกับสร้างบ้านพักแก่ชีวก โกมารภัจจ์ในพระราชวังนั้นเอง

คราวหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารประชวรพระโรค “ภคันทลาพาธ” (โรคริดสีดวงทวาร) ชีวกโกมารภัจจ์ก็ได้ถวายการ

รักษาจนหายจากการประชวร พระองค์ได้โปรดให้เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการฝ่ายใน และได้พระราชทานสวนมะม่วงให้เป็นสมบัติด้วย ซึ่งต่อมาชีวก โกมารภัจจ์ ก็ได้ถวายสวนมะม่วงนั้นให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า

และพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย

หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้ถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อคราวทรงพระประชวรท่านจึงได้ถวายตัวเป็นแพทย์ประจำ

พระพุทธเจ้าและได้ให้การรักษาแก่พระสงฆ์ผู้อาพาธด้วย ท่านยังเป็นอุบาสกที่ดีคนหนึ่ง นอกจากจะถวายการรักษาพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไปแล้ว ท่านมักหาเวลาเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาข้อข้องใจในธรรมะจากพระพุทธเจ้าอยู่เสมอพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ

ยกย่องหมอชีวก โกมารภัจจ์ ว่าเป็นอุบาสกผู้เลิศในด้านมีความเลื่อมใส เป็นหมอที่เสียสละและบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ชื่อเสียงและเกียรติคุณจึงรุ่งโรจน์อยู่กระทั่งทุกวันนี้ และในวงการแพทย์แผนโบราณ ได้ให้ความเคารพนับถือท่านว่า เป็น”บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ”